ประเภทของพลาสติก
เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับประเภทของพลาสติก หากว่าคุณเคยสงสัยว่าพลาสติกมีกี่ประเภทกันแน่ และแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และใช้ทำอะไรบ้างในอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับพลาสติกประเภทต่างๆ กัน พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซตติงพลาสติก
- เทอร์โมพลาสติก (Thermo plastic) หรือ เรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง โพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน โพลิสไตรีน มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก จึงเหมะสำหรับนำมาผลิตเป็น “กระบอกน้ำพลาสติก“
- เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือ ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ ด้วยเหตุนี้หลังจาก พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย

การเลือกซื้อกระบอกน้ำ แก้วน้ำ พลาสติก
หลังจากทำความรู้จักกับประเภทของพลาสติกแล้ว เราควรเลือก กระบอกน้ำ แก้วน้ำ ที่ทำจากพลาสติกประเภทไหนดี จึงปลอดภัยกับสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณมอบให้ ทาง bottlememarket.com ขอสรุปเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังมองหากระบอกน้ำดีๆ สักใบ สำหรับ กระบอกน้ำ ถ้าหากพูดถึงเจ้าของสิ่งนี้ทุกคนย่อมนึกถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับใส่น้ำเพื่อเอาไว้ติดตัวพกพาไปดื่มในสถานที่ต่างๆได้ แต่ว่าแท้จริงแล้วนอกจากการซื้อมาใช้งาน กระบอกน้ำยังสามารถซื้อมาหรือสั่งทำให้กลายเป็น กระบอกน้ำพรีเมี่ยม ส่งมอบให้เป็นของขวัญกับคนสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆในชีวิตได้เป็นอย่างดี และกระบอกน้ำที่เรามักพบเห็นหรือเคยซื้อกันเป็นประจำก็จะเป็นกระบอกน้ำแบบขวดพลาสติก ดีไซน์ที่ออกมาสวย แต่หารู้ไหมว่าแท้จริงแล้วกระบอกน้ำที่เรานิยมพกพาไปไหนมาไหน มีคุณสมบัติให้เลือกซื้อมากกว่านั้นและมีข้อควรรู้สำหรับคนที่คิดจะซื้อ กระบอกน้ำพลาสติก อีกด้วยว่าซื้อแบบไหนจึงจะเหมาะกับการใช้งาน หรือ ว่านำมาใช้งานได้คุ้มค่าเกินราคา ก่อนอื่นต้องรู้จักวัสดุที่ถูกนำมาผลิตเป็น กระบอกน้ำพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก แต่ละชนิดก่อนว่าผลิตจากพลาสติกประเภทใดและต่างกันอย่างไร ทั้งๆที่ประเด็นหลัก ก็คือ คุณสมบัติการใช้งานและดีไซน์สวยงาม กระบอกน้ำพลาสติก แต่ละแบบ ที่ผลิตออกมาแตกต่างกันนั้นมีการจำกัดความในเรื่องของคุณสมบัติและคุณประโยชน์การใช้งานของผลิตภัณฑ์เอาไว้ต่างกัน ซึ่งใครที่กำลังเลือกซื้อกระบอกน้ำหรือกำลังหาข้อมูลอยู่ ก็จะแยกข้อแตกต่างได้ดังนี้
โพลิเอทิลีน (Polyethylene Terephthalate) เรียกย่อว่า PET
กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท (PET) เป็นพลาสติกใส แข็ง มองทะลุได้ สามารถทนความเป็นกรด และสามารถกันการซึมผ่านของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี เราจึงพบเห็นได้มากจากการนำไปบรรจุน้ำดื่ม น้ำชา น้ำหวาน และ น้ำอัดลม
วิธีใช้ที่ถูกต้อง
- กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท จะอ่อนตัว เสียรูป ที่อุณหภูมิประมาณ 70 – 75 องศาเซลเซียส
- กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ทสามารถวางทิ้งไว้ในรถได้
- สามารถนำน้ำอุ่นมากรอกใหม่ได้ (อุณหภูมิต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส)
- กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท ไม่ควรแช่ช่องฟรีซ เพราะจะทำให้ขวดเปราะและแตกได้
- การล้างขวด หรือ กระบอกน้ำ เพื่อนำมาใช้ซ้ำ ควรใช้ฟองน้ำแบบนิ่มในการขัดถู และล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์
โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกย่อว่า PP
- โพลีโพรพิลีน พลาสติกประเภทนี้ เป็นพลาสติกที่มีหมายเลข “5” ขึ้นรูปโดยการหลอมเม็ดพลาสติก PP (Food grade) แล้วยิงขึ้นรูป เป็นพลาสติกความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทนความร้อนดี คงรูปดี เหนียว ทนแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมีและน้ำมัน มีน้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ ในกรณีที่ไม่ได้ผสมสี พลาสติก PP จะมีลักษณะขาวขุ่น ไม่ทึบแสง แต่ก็ไม่ใส นิยมใช้ทำถุงร้อน ขวดน้ำ ขวดนม กระบอกน้ำ แก้วเชค และ กระบอกเชคอาหารเสริม ถ้วยบะหมี่ หรือ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป กล่องบรรจุอาหาร เป็นต้น เพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ 100-121 องศาเซลเซียส (ไม่ใช่ความร้อนแบบต่อเนื่อง) สามารถเข้าไมโครเวฟได้
ข้อจำกัดการใช้
- ไม่ทนต่อความเย็นจัด ไม่เหมาะกับอาหารแช่เยือกแข็ง
- สามารถติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการเติมสารหน่วงไฟเพื่อป้องกันการติดไฟในกระบวนการผลิต ซึ่งสารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
- สารเม็ดสีที่มีตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งผสมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกมีสีต่าง ๆ ตะกั่วและแคดเมียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพลาสติกได้
โพลีสไตรีน (Polystyrene) เรียกย่อว่า PS
พลาสติก มีลักษณะแข็ง และมันวาว เปราะบาง แตกง่าย เช่น ช้อนส้อมพลาสติกตามร้านสะดวกซื้อ ภาชนะโฟม ฝาแก้วกาแฟ แก้วน้ำ กระบอกน้ำ
ข้อจำกัดการใช้
- ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ
- เปราะ แตกง่าย
- การรีไซเคิลมีปัญหาในเรื่องไม่คุ้มทุนเป็นสำคัญ เนื่องจากคุณภาพของพลาสติกที่รีไซเคิลได้จะต่ำลงกว่าก่อนผ่านการรีไซเคิล
โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate) เรียกย่อว่า PC
- เนื่องจาก โพลีคาร์บอเนต เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความ “ใส” แต่ไม่เปราะ แข็งแรง เป็นพลาสติกที่มีลักษณะ ใส แข็ง ทนทานต่อแรงกระแทก และทนความร้อน จึงนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเก็บในตู้เย็น เช่น กระบอกน้ำ เหยือกน้ำ ขวดน้ำขนาดบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ขวดนม รวมทั้งจำพวกถ้วย ช้อนส้อม มีดชนิดใส
ข้อจำกัดการใช้
- ไม่ควรนำมา ต้ม, นึ่ง หรือ สเตอริไลซ์ พลาสติก PC**
- ไม่เหมาะนำมาบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร หรือ เครื่องดื่ม ที่มีอุณหภูมิสูง
- ไม่ทนต่อด่าง เช่น น้ำเกลือ หรือ ทินเนอร์
Tritan
- เป็นพลาสติกชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Eastman Chemical ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ระดับโลก ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ใสเหมือนแก้ว แต่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไร้สาร BPA …….Beyond BOTTLES