ภาพแม่พิมพ์ตระแกรงไหมพบที่ญี่ปุ่น

ภาพโดย : http://digicoll.library.wisc.edu

การค้นพบภาพพิมพ์ตระแกรงไหม

ภาพพิมพ์ตระแกรงไหมในเอเชีย

  • ในทวีปเอเชีย มีหลักฐานบ่งชี้ว่าภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถูกสร้างขึ้นมาจากฉลุโดยใช้ใบไม้ขนาดใหญ่เป็นแม่พิมพ์สำหรับศิลปะของชาวบ้าน วิธีการฉลุถูกใช้อย่างกว้างขวางในหลายชนชาติเพื่อตกแต่งผนัง ฝ้า และเครื่องตกแต่งบ้าน เป็นการฉลุอย่างง่ายๆ และภาพจะเกิดจากการพิมพ์ผ่านแม่พิมพ์ โดยการดูหมึกหรือสีที่ต้องการผ่านช่องว่างของแม่พิมพ์ลายฉลุชันลงสู่วัสดุรองรับ เป็นวิธีการก่อนที่เราจะพบการพิมพ์สกรีนที่มีความเชื่อมโยงกับเทคนิคอย่างแนบแน่น
  • ในยุคสมัยราชวงศ์ซั่ง ของจีน (ค.ศ . 960 – 1279) ได้มีการพิมพ์ตัวอักษรและรูปภาพโดยใช้กระดาษที่ฉลุเป็นช่องแล้วจึงใช้หมึกพ่นหรือปาดไปบนแม่พิมพ์ อันใช้กรรมวิธีพิมพ์ตระแกรงไหมลงบนแผ่นฝ้ามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 6 แต่มีปัญหาคือ แม่พิมพ์จากกระดาษไม่ค่อยแข็งแรง จึงพิมพ์ชิ้นงานได้จำนวนน้อย ภายหลังได้มีการพัฒนากระดาษที่มีความทนทานยิ่งขึ้น และปี ค.ศ.1876 มีผู้นากระดาษไปเคลือบไขแล้วใช้โลหะปลายแหลมทิ่มเป็นรูเล็กๆ เรียงต่อกันเป็นภาพขึ้น
  • ในญี่ปุ่นพบการตกแต่งลายฝ้าด้วยการพิมพ์ฉลุ ผู้คิดค้นการพิมพ์บนลายผ้าไหมคนแรกของญี่ปุ่น คือ ยา ยู เซน (Ya Yu Zen) เขานำใยของต้นหม่อน (Mulberry) มาตัดทำเป็นกระดาษเพื่อสร้างแม่พิมพ์ และได้มีการคิดค้นพัฒนาวิธีการ จนกระทั่งมีการนำเส้นผมของมนุษย์มาถักเป็นตระแกรง เพื่อใช้เป็นโครงที่มีความแข็งแรงในการยึดโยงกับชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ลายฉลุ ซึ่งเรียกว่า การพัฒนาลายฉลุตะแกรงเส้นผม (Hair Stencil Printing) และต่อมาได้มีการใช้เส้นไหมซึ่งแข็งแรงกว่ามาใช้ทำแม่พิมพ์แทนเส้นผม และเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การพิมพ์ซิลศ์สกรีน (Silkscren) การพิมพ์กระบวนการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป ทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษ และเผยแพร่ไปยังอเมริกาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

ภาพพิมพ์ตระแกรงไหมในตะวันตก

  • ในตะวันตกพบงานพิมพ์ลายฉลุที่มีความละเอียดซับซ้อนและประณีตในสถานที่ฝังพระศพกษัตริย์อิยิปต์โบราณ และบันทึกในเหตุการณ์ในงานรื่นเริงและการแข่งขันกีฬาของชาวโรมันโบราณที่ใช้การฉลุลายเป็นตัวอักษรใช้ในยุคกลาง การฉลุลายกลายเป็นศิลปะที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ จึงเกิดความนิยมในหมู่ชาวบ้านมีการตกแต่งลวดลายลงบนไม้ไผ่ ต่อมาการพิมพ์ลงบนผ้าไหมและสิ่งทอเป็นสิ่งที่ต้องการมากในสมัยนั้นทำให้งานช่างฝีมือถึงขีดสุดในช่วง ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาในศตวรรษที่ 18 เจ ปา ปิยอง ( J. Papillon) ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้พิมพ์กระดาษปิดฝาผนังด้วยการกลิ้งฉลุลายเป็นครั้งแรก

ภาพพิมพ์ตระแกรงไหมในประเทศไทย

  • เริ่มปรากฏในยุคสมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัด เทคโนโลยีการพิมพ์ในเมืองไทยได้รับจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุทธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในปี พ.ศ.2205 ในปี พ.ศ.2539 ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซานตาครู้ส ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลต่อๆมา ได้มีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกโดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ โรงพิมพ์เป็นของคนไทย คือ โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร ของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • เทคนิคการพิมพ์สกรีนและเทคนิคการพิมพ์ลายฉลุ มีความเชื่อมโยงกันระหว่างเทคนิคสองเทคนิค จากจุดร่วมซึ่งพบได้จากการใช้ในงานหัตถกรรม งานเชิงพาณิชย์ และงานอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความนิยมในการพิมพ์ลายฉลุก็ยังคงมีเสมอมา การพิมพ์ลายฉลุนี้มีการใช้ในงานราชพิธีชั้นสูง เช่น งานตกแต่งพุทธสถาน วัดวาอาราม ตลอดจนงานช่างศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งเป็นที่นิยมของคนทั่วไปที่จะใช้การตกแต่งผลิตภัณฑ์ ป้าย โฆษณา และงานตกแต่งภายในอาคาร
  • การพิมพ์สกรีนระบบอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการใช้อย่างแพร่หลายในวงการพิมพ์ผ่านมาเกือบ 70 ปีแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์ฝ้าที่เคยเป็นที่นิยมอย่างมากในอดีต ด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยเองก็ได้นำเทคนิคการพิมพ์ลายฉลุมาใช้ในการสร้างลวดลาย ซึ่งลายฉลุแบบไทยนี้หากฉลุบนกระดาษเรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ” ส่วนงานลงรักปิดทองลายฉลุนิยมตกแต่งที่เพดาน ท้องขื่อ ฝ้า เฉลียง ไขรา ฝาผนัง เป็นต้น เมื่อจะทำลวดลายก็นำน้ำยาชั้นไปทานั้น ตรงที่จะทาให้เป็นลาย แล้วนำแบบลายปะติดเข้าตรงที่ต้องการให้แน่น แล้วจึงนำทองคำเปลวปัดลงตรงช่องที่เจาะทำเป็นตัวลายบนแบบให้ทั่ว เมื่อทองจับติดพื้นดีแล้วจึงแกะกระดาษแบบออกจากพื้น ก็จะเกิดเป็นลวดลายสีทองคำเปลวบนพื้นตามแบบ ลายฉลุที่ทำขึ้นนั้นเรียกว่า “งานลงรักปิดทองลายฉลุ”
  • ในงานหัตถกรรมของไทยที่นำเทคนิคการพิมพ์ลายฉลุมาใช้ในการสร้างลวดลายอีกรูปแบบคือ การพิมพ์ลายฉลุบนโอ่งมังกร มีการสร้างลายบนผิวโอ่ง นอกเหนือจากวิธีการเขียนลายแบบเรียบๆ และวิธีการปั้นลายนูนเพื่อความสะดวก รวดเร็วเรียบร้อยและสวยงาม การติดลายจะติดแบบฉลุที่ทำจากแผ่นพลาสติกใส เวลาติดลายก็นำแบบฉลุที่ต้องการวางทาบลงบนผิวโอ่ง แล้วนำดินติดดอกกดลงบนแบบฉลุ “ดินติดดอก” คือ ดินเหนียวหรือดินสีนวลผสมกับดินขาวก่อนใช้เนื้อดินนำมาร่อนให้ละเอียด แล้วนำดินทั้งสองชนิดมาผสมกัน แล้วนวดให้เนื้อดินนิ่มจึงเรียกว่า “ดินติดโอ่ง” เมื่อปั้นแต่งผิวโอ่งเรียบร้อยแล้วก็จะนำโอ่งมาติดลาย โดยช่างเขียนลายจะปาดดินปั้นด้วยมือผ่านแม่พิมพ์แบบฉลุลายบนผิวโอ่ง เมื่อยกแบบออก ดินติดดอกก็จะติดลงไปบนโอ่งเกิดเป็นลวดลายตามแบบที่ฉลุนั้น

ข้อมูล : ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ