น้ำดื่มบรรจุขวด PET อันตรายจริงหรือ?

โดย นายคงศักดิ์ ดอกบัว
ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศและกลยุทธ์อุตสาหกรรม
สถาบันพลาสติก

ในปัจจุบันประเด็นเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นจากการที่นำขวดพลาสติกใส่น้ำไว้ในรถยนต์ เป็นที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก และกระจายใน Social Network อย่างรวดเร็ว โดยที่มักบอกว่าพลาสติกที่ถูกเก็บไว้ในรถยนต์นั้นจะเป็นตัวการที่ปล่อยสารเคมีและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ แต่จากผลการทดลองวัดปริมาณสารที่ละลายออกมาได้จากกระบอกน้ำ PET หรือ ขวด PET ทั้งหมด ตามวิธีทดสอบมาตรฐานยุโรป SRPS EN 1186-9 / 2008 พบว่า ปริมาณสารที่ซึมผ่านออกมาได้ทั้งหมดมีค่าไม่เกิน มาตรฐานที่อนุญาต แสดงว่า กระบอกน้ำ หรือ ขวด PET ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีสี หรือไม่มีสี ปลอดภัยแน่นอน ไม่ว่าจะให้บรรจุน้ำดื่มหรือน้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด และผลการวิจัยของ FDA (Food and Drug Association) หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาได้เคยทำวิจัยข้อสงสัยเรื่องนี้มาแล้ว ผลการวิจัยพบว่า เรื่องสารชนิดต่างๆที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่น้ำดื่มได้นั้นมีค่าต่ำกว่าค่าที่อนุญาต 100 ถึง 1,000 เท่า อีกทั้งถ้าเก็บ กระบอกน้ำ PET หรือ ขวด PET บรรจุน้ำดื่มในรถที่ร้อนหรือในช่องแช่แข็งก็พบว่าสารชนิดต่างๆที่ซึมผ่านก็ยังอยู่ในค่าที่ต่ำกว่า ข้อกำหนดมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากระบวนการผลิต กระบอกน้ำ หรือ ขวด PET และพลาสติก PET ไม่มีการสารอันตรายใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง

ปัจจุบัน สื่อส่งคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมาก สื่อออนไลน์มีข้อดี คือ รวดเร็ว เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและเข้าถึงได้ตลอดเวลา บางกรณีผู้บริโภคเองก็สามารถทำตัวเป็นผู้สื่อข่าวเสียเองก็ได้และมีหลายๆ กรณีสื่อหลักก็นำเอาข้อมูลของสื่อออนไลน์ไปเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง ทำให้ข้อมูลข่าวสารเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น แต่สื่อประเภทนี้ก็มีข้อเสียมากมายเหมือนกัน การที่มีข้อมูลจากสื่อออนไลน์มากมายขนาดนี้บางครั้งข้อมูลต่างๆ ก็ไม่ใช่ความจริงเสมอไป บางครั้งเป็นชุดข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งโจมตีสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง หรือเพื่อมุ่งหวังสร้างข่าวลืออันเป็นท็จก็เป็นได้

บางท่านอาจได้รับข่าวสารเรื่องอันตรายของน้ำดื่มบรรจุขวด PET กระบอกน้ำ PET ซึ่งเป็น Polyester ชนิดหนึ่ง ว่ามีสารพิษ หรือ สารก่อมะเร็ง เมื่อใช้ซ้ำหลายๆครั้ง หรือ การเก็บน้ำในขวด PET ไว้ในรถที่จอดตากแดดมีอุณหภูมิสูงทำให้สารพิษแพร่จากขวดสู่น้ำ เราลองมาดูข้อเท็จจริงของเรื่องนี้กันดีไหม

ขวดบรรจุน้ำดื่ม PET นั้น ทำมาจากพลาสติกจำพวก โพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต ซึ่งเกิดจาก ปฎิกิริยา Esterification / เอสเทอริฟิเคชัน ของสารตั้งต้น Ethylene glycol / เอทิลีนไกลคอล [HO-CH2-CH2-OH] และ Dimethly terephthalate [CH3-CO-C6H4-CO-CH3] หรือ Terephthalic acid [HOOC-(C6H4)-COOH] ในกระบวนการผลิตนั้นจะไม่มีการใช้สารจำพวก Plasticizers (พลาสติกไซเซอร์) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณมากๆ

การวิเคราะห์น้ำดื่มบรรจุขวดนั้นจะใช้ผลการวิเคราะห์สารใดๆที่อาจละลายได้จากการซึมผ่าน ออกมาที่น้ำดื่ม มีผลการวิเคราะห์น้ำดื่มที่บรรจุขวด PET ดังนี้

ตัวอย่างน้ำกลั่นบริสุทธิ์ (PH = 6)

  • ขวด PET มีสี วัดได้ 45 mg/dm3 ปริมาณสูงสุดที่อนุญาต คือ 10 mg/dm3
  • ขวด PET ใสไม่มีสี วัดได้ 90 mg/dm3 ปริมาณสูงสุดที่อนุญาต คือ 10 mg/dm3

ตัวอย่างน้ำส้มสายชู  3% (PH = 2.5)

  • ขวด PET มีสี วัดได้ 98 mg/dm3 ปริมาณสูงสุดที่อนุญาต คือ 10 mg/dm3
  • ขวด PET ใสไม่มีสี วัดได้ 09 mg/dm3 ปริมาณสูงสุดที่อนุญาต คือ 10 mg/dm3

จากผลการทดลองวัดปริมาณสารที่ละลายออกมาได้จากขวด PET ทั้งหมด ตามวิธีทดสอบมาตรฐานยุโรป SRPS EN 1186-9 / 2008 พบว่า ปริมาณสารที่ซึมผ่านออกมาได้ทั้งหมดมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่อนุญาต แสดงว่า ขวด หรือ กระบอกน้ำ PET ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีสี หรือ ไม่มีสี ปลอยภัยแน่นอน ไม่ว่าจะใช้บรรจุน้ำดื่ม หรือ น้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด

นอกจากนั้น FDA (Food and Drug Administration) ของสหรัฐอเมริกาได้เคยทำวิจัยข้อสงสัยเรื่องนี้มาแล้ว ผลการวิจัยพบว่า เรื่องสารชนิดต่างๆที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่น้ำดื่มได้นั้นมีค่าต่ำกว่าค่าที่อนุญาต 100 ถึง 1,000 เท่า อีกทั้งถ้าเก็บขวด PET บรรจุน้ำดื่มในรถที่ร้อนหรือในช่องแช่แข็งก็พบว่าสารชนิดต่างๆ ที่ซึมผ่านก็ยังอยู่ในค่าที่ต่ำกว่าข้อกำหนดมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากระบวนการผลิต ขวด หรือ กระบอกน้ำ PET และ พลาสติก PET ไม่มีสารอันตรายใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง

สรุป น้ำดื่มบรรจุขวด PET ไม่ว่าจะมีสีหรือไม่มีสีนั้นมีความปลอดภัย แต่!!! ในกรณีที่มีการเปิดขวดบริโภคแล้ว โดยเฉพาะการใช้ปากดื่มโดยตรงจากขวด จะทำให้จุลินทรีย์จากปากของเราเข้าไปปะปนในน้ำและเกิดการขยายตัวของจุลินทรีย์ หากเก็บไว้เป็นเวลานาน โดยอุณหภูมิสูงจะทำให้อัตราการขยายตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น หากนำมาบริโภคอีกอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก กระบอกน้ำพลาสติก หรือ บรรจุภัณฑ์ชนิดใดก็ตาม ควรคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมด้วย ซึ่งถ้าหากมีการใช้งานโดยขาดความเข้าใจและความเหมาะสมแล้ว อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน


กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ