ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen)
ความหมายและคำนิยามของภาพพิมพ์ตระแกรงไหม
คือ กระบวนการพิมพ์ ที่พิมพ์โดยใช้ไม้ปาดสีรีดเนื้อสีผ่านตะแกรงเนื้อละเอียดลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งบริเวณที่ไม่ถูกพิมพ์จะเป็นบริเวณตะแกรง ที่ถูกกันเอาไว้ไม่ให้สีลอดผ่านลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์ ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน, ภาพพิมพ์ช่องฉลุ, ภาพพิมพ์ตระแกรงไหม ล้วนแล้วแต่เป็นการเรียก กระบวนการพิมพ์ผ่านฉากพิมพ์ทั้งสิ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้นจะทำการสร้างแม่พิมพ์ให้เป็นฉากกั้นสี เพื่อป้องกันมิให้สีลงไปในส่วนที่ไม่ต้องการ ซึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการค้นพบภาพพิมพ์ที่ปรากฏ ตามผนังถ้ำโดยมีการทาบฝ่ามือลงบนผนังถ้ำ ให้มือมีสภาพเป็นแม่พิมพ์แล้วเป่าสีหรือพ่นสีลงบนมือ มือจะทำหน้าที่เป็นฉากกั้นสีไว้และจะปรากฏเป็นภาพแบนๆ แสดงขอบเขตชัดเจนซึ่งถือได้ว่ากระบวนการนี้เป็นต้นกำเนิดของลักษณะการพิมพ์ข้างต้นที่ได้กล่าวมา ปัจจุบันเราจะเห็นผลงาน ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) บนวัตถุต่างๆมากมาย เช่น งานสกรีนบนกระบอกน้ำ แก้วน้ำ กระเป๋าผ้า ถุงผ้า เสื้อ และอื่นๆอีกมากมาย
ทั้งนี้มีผู้ให้ความหมายภาพพิมพ์ตระแกรงไหมหรือภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนไว้ดังนี้
- คุณศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ กล่าวว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีนเป็นระบบการ พิมพ์ที่รอยหมึกเกิดจากรอยปรุของแม่พิมพ์ โดยใช้ยางปาดหมึกให้ไหลผ่านผ้าสกรีนไปปรากฏลงบน วัสดุที่จะพิมพ์
- คุณไพจิตร์ นรากรไพจิตร กล่าวว่า ภาพพิมพ์ตระแกรงไหม ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Stencil Process” หรือ “Stencil Print” สเตนซิลเป็นการใช้วัสดุบางๆที่ทำจาก โลหะ กระดาษ หรือ วัสดุอื่นๆ มีรอยเจาะให้เป็นรูเปิด ตามรูปร่างของลวดลายต่างๆ ซึ่งเมืองแปรงด้วยหมึกหรือสี จะทำให้หมึกผ่านทะลุรูที่เปิดนั้น และเกิด การสร้างภาพของตัวอักษรหรือลวดลายนั้นๆ ปรากฏขึ้นบนผิวหน้าของวัสดุรองรับอยู่ด้านล่าง
- คุณสุดารัตน์ โสมี กล่าวว่า แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็น ขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
ความเป็นมาของภาพพิมพ์ตระแกรงไหม
มนุษย์เรียนรู้ระบบงานพิมพ์มาเป็นเวลานานแล้ว ยุคก่อนประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้มือตนเองเป็นแม่พิมพ์เพื่อให้เกิดภาพสีบนผนังถ้ำ ซึ่งต่อมาจึงพัฒนากระบวนการต่างๆ วัตถุประสงค์เพื่อให้ ได้สำเนามากขึ้น อันส่งผลให้เกิดภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์หิน ภาพพิมพ์โลหะ และภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน ตามลำดับและทั้งนี้ผลสำคัญของกระบวนการทางภาพพิมพ์นั้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึก เรื่องราวต่างๆ การพิมพ์ตระแกรงไหม (Stencil Process) นี้สามารถสืบค้นย้อนเวลากลับไปได้ถึง 30,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช การพิมพ์ตระแกรงไหมสามารถพบเห็นได้จากภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในศิลปะถ้ำ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลกนับได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานการพิมพ์ลายฉลุในยุคเริ่มต้นของโลก ภาพที่เกิดจากการกระบวนการพิมพ์ตระแกรงไหมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามนุษย์ใช้ ฝ่ามือวางทาบลงบนผนังถ้ำ โดยมือนั้นมีสภาพเป็นแม่พิมพ์ แล้วจึงเป่าสีหรือพ่นสีลงบนมือที่ยังคงแนบอยู่กับพื้นรองรับ มือจะทำาหน้าที่เป็นฉากกั้นสีไว้และจะปรากฏภาพแบนๆ แสดงขอบเขตชัดเจน ซึ่งถือ ได้ว่ากระบวนการนี้เป็นต้นกำเนิดของการพิมพ์ภาพแบบตระแกรงไหม “การพิมพ์ตระแกรงไหมถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีพื้นฐานของการพิมพ์สกรีน” นั่นเอง
การพิมพ์สกรีน เริ่มต้นเมื่อใดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการค้นพบหลักฐานประดิษฐกรรมของชาวพื้นเมืองบนเกาะโพลินีเชียน (Polynesian Island) ซึ่งได้มีการนาใบตองมาตัดเป็นช่องลวดลายต่างๆแล้วจึงนาสี(หมึก) มาหยอดผ่านช่องทำให้ปรากฏเป็นลวดลายเหมือนกับบนใบตอง สันนิษฐานว่ากรรมวิธีดังกล่าวได้มาจากการสังเกตกระบวนการตามธรรมชาติ คือ แมลงกัดกินใบไม้เป็นรูพรุน ทำให้น้ำไหลผ่านรูลงมาเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้นของการพิมพ์ตระแกรงไหม หรือ การพิมพ์สกรีน
ข้อมูล : ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาพโดย : http://art-gallerycollection.blogspot.com/2011/03/history-of-art.html
จีนเป็นพื้นที่สำคัญอีกแหล่งที่พบหลักฐานการประดิษฐ์แม่พิมพ์สกรีน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่พิมพ์สกรีนเช่นกัน โดยพบแม่พิมพ์จำนวนมากช่วง 960-1280 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ มีการสร้างแม่พิมพ์จากเส้นผมที่นำมาทอเป็นผืนเนื่องจากเส้นผมมีความเหนียวและแข็งแรงพอที่จะรองรับวัสดุอื่นได้ สามารถเป็นตัวกลางให้หมึกหรือของเหลวอื่นผ่านได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังปรากฏ มีการนำเอาแผ่นกระดาษและแผ่นโลหะมาฉลุเป็นลวดลายต่างๆ แล้วโรยสีลงไปตามรอยฉลุเหล่านั้น เมื่อยกแม่พิมพ์ออกมาจะได้ลวดลายตามแบบ ซึ่งการพิมพ์ลักษณะนี้ เรียกว่าการพิมพ์ สเตนซิล (Stenscil) ทั้งนี้หลักการ หรือ วิธีการพิมพ์สเตนซิล ก็ไม่ต่างไปจากวิธีการให้ได้มาซึ่งภาพประทับฝ่ามือในศิลปะถ้ายุคก่อนประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่นเองก็มีหลักฐานการพิมพ์ตระแกรงไหม ปรากฏในสมัย Tenna Era (ประมาณ ค.ศ. 1680-1684) มีนักเขียนภาพได้คิดค้นวิธีการตกแต่งชุดกิโมโนให้มีความสวยงามเพิ่มขึ้น ด้วยวิธีการพิมพ์ไทเลส สเตนซิล (Tieless Stencill) หรือ ที่รู้จักกันคือ Paper Cut แม่พิมพ์ทำจากกระดาษชุบน้ามันลินซีส เพื่อให้ทนน้ำ เวลาพิมพ์นำมาซ้อนกันแล้วใช้มีดตัดตามแบบ นำขนสัตว์หรือผมทำเป็นร่างแหยึดแบบ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตาข่ายรองรับสิ่งพิมพ์ ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของสีและผ้า
กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ