กระบอกน้ำ ผลิตจาก “สเตนเลส” ประเภทใด

คนโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่า “สเตนเลส” หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม มีกี่ประเภท และมักจะมีการเข้าใจผิดว่า สเตนเลสแท้ต้องแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่จริงๆ แล้วการที่แม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ สเตนเลส โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่มคือ ออสเทนนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติก และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยวิธีการตกผลึก

ในบทความนี้จะกล่าวถึง สเตนเลส กลุ่ม ออสเทนนิติค หรือ เรียกอีกอย่างว่า สเตนเลสตระกูล 300 เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมใช้มากที่สุด มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด ประกอบด้วยโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% มีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการทำการประกอบ และเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/8 คือการที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 8% เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน และทำให้เชื่อมหรือขึ้นรูปได้ง่าย

กระบอกน้ำ ผลิตจากสเตนเลสตระกูล 300

ทาง bottlememarket.com ขอสรุปและยกตัวอย่างสเตนเลสเฉพาะที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระบอกน้ำสเตนเลส รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะสเตนเลสที่อยู่ใกล้ตัวเราหรือที่เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก

สเตนเลสตระกูล 300 คือ สเตนเลสที่มีโค๊ดตัวเลข ขึ้นต้นด้วยเลข 3 ได้แก่ 301 / 302 / 303 / 303SE / 304 / 304L / 304N / 304H / 305 / 316 / 316L / 308 / 308L / 309 / 310 / 317 / 317L / 321 / 329 / 347 ฯลฯ ขอยกตัวอย่างไว้เท่านี้ครับ สเตนเลสในกลุ่มนี้จะเพิ่มธาตุนิเกิลผสมเข้ากับเหล็ก ทำให้องค์ประกอบของสเตนเลสเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน ผลลัพธ์ที่ได้คือ สเตนเลสในกลุ่มนี้จะไม่ตอบสนองกับแรงดูดของแม่เหล็ก เมื่ออยู่ในสภาพปกติ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น การตัด การเชื่อม การเจียร การดัดโค้ง รวมถึงการปั้มขึ้นรูป ซึ่งจะทำให้บริเวณที่เกิดการกระทำดังกล่าว เกิดปฎิกริยาตอบสนองกับแรงแม่เหล็กได้ แต่จะไม่แรงเท่ากับ เมื่อนำแม่เหล็กไปดูดกับสเตนเลสในตระกูล 400 และสเตนเลสในตระกูล 300 นี้ จะใช้ในลักษณะงานทั่วไปอย่างแพร่หลาย โดยมีเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนน้อยกว่า 0.1% และมีส่วนผสมของนิเกิล ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสเตนเลสเกรดใด ข้อดีของสเตนเลสตระกูลนี้ คือ มีความสามารถในการขึ้นรูปได้ดีมาก มีความปลอดภัยในการนำมาทำบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ( Food Grade )  รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์

  • สเตนเลส 301 เป็นสแตนเลสที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบ 0.15%  โครเมี่ยม 16 – 18%  นิเกิล 6 – 8%  เหมาะกับงานสปริง คอนแทค สายพานลำเลียง
  • สเตนเลส 304 เป็นสแตนเลสที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบ 0.08%  โครเมี่ยม 18 – 20%  นิเกิล 8 – 10.5%  เป็นสเตนเลสพื้นฐานใช้งานทั่วไปหรือใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม ป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี ทนต่อการกัดกร่อนสูง ง่ายต่อการขึ้นรูปและเชื่อมได้ดี เหมาะสำหรับนำมาผลิต กระบอกน้ำสเตนเลส กระบอกน้ำสูญญากาศ และ แก้วฝาปิดสเตนเลส หรือ บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม
  • สเตนเลส 304L เป็นสเตนเลสเบอร์ 304 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา คือ 0.03%  โครเมี่ยม 18 – 20%  นิเกิล 9 – 13% ใช้กับงานเชื่อมได้ดีกว่า ไม่เป็นสนิม และเหมาะสำหรับงานแท้งค์ประเภทต่างๆ
  • สเตนเลส 309/309S  ใช้เกี่ยวกับงานทนความร้อนสูงไม่เกิน 900 องศา แต่น้อยกว่า 310/310S
  • สเตนเลส 310 / 310S  เป็นสแตนเลสที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบ 0.03%  โครเมี่ยม 24 – 26%  นิเกิล 19 – 22%  เหมาะกับงานทนความร้อนสุง 1,150 องศา งานเตาอบ เตาหลอม ฉนวนกั้นความร้อน
  • สเตนเลส 316 เป็นสเตนเลสที่ใช้ป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี ใช้กับงานทนกรด ทนเคมี หรือเป็นเกรดที่มีปฏิกิริยากับกรดน้อย เหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรม
  • สเตนเลส 316L เป็นสเตนเลสเบอร์ 316 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา คือ 0.03%  โครเมี่ยม 16 – 18%  นิเกิล 12 – 15%  โมลิเดนั่ม 2 – 3%  ใช้กับงานทนกรดที่เข้มข้นมากกว่า ทนเคมีมากกว่า หรือเป็นเกรดที่มีปฏิกิริยากับกรดน้อยมาก (มีความทนกรดมากกว่า)

สแตนเลสขึ้นสนิมได้หรือไม่ ?

Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ ในกรณีที่ถูกกรด ด่าง หรือไอระเหยของกรดและด่าง ในปริมาณมาก ปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่กับการเกิดสนิมในผลิตภัณฑ์สเตนเลส เกรด 304

ปัญหาที่ 1 การใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีกรดไฮโดรคลอริค ราดไปที่อุปกรณ์โดยตรง หรือ จากไอระเหยเมื่อมีการราดน้ำยาล้างห้องน้ำทิ้งไว้

ปัญหาที่ 2 การติดตั้งอุปกรณ์ในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง และในงานนั้นๆมีการใช้ปูนซีเมนต์ ละอองของผงปูน หรือน้ำปูนที่ใช้ในการทำงานนั้น เมื่อมากระทบและเกาะบนพื้นผิวสเตนเลสเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดสนิมขึ้นที่สเตนเลสได้

ปัญหาที่ 3 แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาล ทำให้เกิดคราบของน้ำ หรือตะกรันเกาะที่พื้นผิวของสเตนเลสได้ เพราะน้ำบาดาลจะมีส่วนผสมของสารละลายหินปูน และสนิมเหล็กจำนวนมากปะปนอยู่ในน้ำ

ปัญหาที่ 4 การใช้อุปกรณ์ในพื้นที่ติดน้ำทะเล หรือในพื้นที่ที่มีไอเค็มจากน้ำทะเล

วิธีการแก้ไขคราบเบื้องต้น

  • ให้ใช้น้ำสะอาด ชำระล้างน้ำยา หรือละอองต่างๆที่มาเกาะบนพื้นผิวของสเตนเลส ให้ออกให้หมด หลังจากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรือคราบต่างๆ บนสเตนเลส
  • หากเกิดคราบน้ำขึ้น ให้นำสก๊อตไบรท์นุ่มๆ (หรือสก๊อตไบรท์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง) ขัดที่ผิวของสินค้าในบริเวณที่เกิดคราบ โดยขัดตามแนวขวาง ตามผิวด้านเดิม
  • หากมีคราบจำนวนมากและฝังแน่น ให้ใช้น้ำส้มสายชูช่วยในการขัด และล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆ และใช้ผ้านุ่มสะอาดๆเช็ดให้แห้ง

* น้ำสะอาดในที่นี้ หมายถึง น้ำประปา หรือ ถ้าเป็นน้ำบาดาล ควรเป็นน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำดื่ม

วิธีการใช้งาน กระบอกน้ำสเตนเลสสูญญากาศ

  • กระบอกน้ำสเตนเลสสูญญากาศ ที่ได้มาใหม่ ควรจะฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนผสมเม็ดทำความสะอาดฟันปลอม ส่วนใหญ่มีโวเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) เทลงไปในตัวกระบอกน้ำ ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เสร็จแล้วล้างกระบอกน้ำด้วยน้ำเปล่าซ้ำๆประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อความสะอาด และทิ้งไว้ให้แห้ง
  • ไม่ควรใส่ผลิตภัณฑ์ประเภทนม / น้ำผลไม้และเครื่องดื่มอัดลม เป็นเวลานาน
  • การพกกระบอกน้ำ จะต้องทำการตรวจสอบ stopper ให้อยู่ในสภาพปกติและปิดได้สนิท เพื่อป้องกันการรั่วซึม
  • ควรระมัดระวังอย่าให้กระบอกน้ำหล่นหรือกระแทก เพราะอาจส่งผลให้กระบอกน้ำบุบหรือชำรุดและประสิทธิภาพการใช้งานเสื่อมลง
  • การเติมน้ำลงใน กระบอกสเตนเลสสูญญากาศ จะต้องเติมน้ำให้ต่ำกว่าจุดขอบยางประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำร้อน หรือ น้ำเย็นที่ใส่ลงไปสัมผัส stopper กับขอบยาง ซึ่งทำให้สูญเสียการเก็บรักษาอุณหภูมิ และช่วยยืดอายุการใช้งานของยางกันซึม
  • ไม่ควรใส่โซดา หรือ น้ำแข็งแห้งลงใปในกระบอกน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดก๊าซในกระบอกน้ำมากเกินไป ส่งผลให้อาจเกิดแรงดันจนไม่สามารถเปิดกระบอกน้ำได้
  • หลังการบรรจุเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน ควรทำความสะอาดในทันที เพื่อป้องกันมีกลิ่นตกค้าง

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ