ข้อควรรู้ก่อนซื้อ กระบอกน้ำสเตนเลสสูญญากาศ

มารู้จัก สเตนเลส กับ กระบอกน้ำ

สเตนเลส หรือ เหล็กกล้า

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ”สเตนเลส” ก่อน ว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง แค่พอเป็นความรู้ในการเลือกใช้สเตนเลสให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสเตนเลส (ไม่ถึงกับต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์นะครับ) สเตนเลส (Stainless steel) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่าหรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ขึ้นไป จะทำให้กลายเป็น เหล็กกล้า ที่มีความสามารถต้านทานการเกิดสนิมได้ สาเหตุมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสเตนเลส เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสเตนเลสได้เป็นอย่างดี ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป


ประเภทของสแตนเลส คนโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่าสเตนเลสมีกี่ประเภท และมักจะมีการเข้าใจผิดว่าสเตนเลสแท้ต้องแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่จริงๆแล้วการที่แม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสเตนเลส สเตนเลสแบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่ม คือ ออสเทนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติค และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก

  • กลุ่มออสเทนิติค หรือ สเตนเลสตระกูล 300 มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด มีส่วนผสมของโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% และมีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% ทำให้สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี เกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/10 คือ การที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 10% ดังนั้นทาง bottlememarket.com จึงนำสแตนเลสกลุ่มออสเทนิติคมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กระบอกน้ำสเตนเลส กระบอกน้ำสูญญากาศ แก้วฝาปิด รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเตนเลสทั้งหมด
  • กลุ่มเฟอริติค แม่เหล็กดูดติด มีธาตุคาร์บอนผสมปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักที่สำคัญอาจอยู่ระหว่าง 10.5%-27% และมีนิกเกิลเป็นส่วนผสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย
  • กลุ่มมาร์เทนซิติค แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง มีโมลิบดีนัมเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ 0.2-1% ไม่มีนิกเกิล สเตนเลสตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว และอบคืนตัว สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน
  • กลุ่มดูเพล็กซ์  มีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอริติค และออสเทนิติคซึ่งนำข้อดีของทั้งสองกลุ่มมารวมกัน  มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19-28% และโมลิบดินัมสูงกว่า  5% และมีนิกเกิลผสมอยู่ 4.5 – 8% น้อยกว่าตระกูลออสเทนิติค เพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานเฉพาะเจาะจงบางประเภท ซึ่งไม่ค่อยมีการผลิตมากนัก
  • กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก เกรดที่เป็นที่รู้จักในตระกูลนี้ คือ 17-4H  ซึ่งมีส่วนผสมของโครเมียม 17% และนิกเกิล  4% สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยกลไกเพิ่มความแข็งจากการตกผลึก โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้สูงมาก เช่น ยานอวกาศ

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ

กระบอกน้ำพลาสติก

มารู้จัก BPA กับ กระบอกน้ำ

BPA คือ อะไร

Bisphenol A (2-4) หรือที่คนทั่วไปรู้จักเรียกว่า  BPA  เป็นสารเคมีประกอบหนึ่งในวัตถุที่เรียกว่า โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate – Plastic) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตขวดนม กระบอกน้ำดื่มมานาน โดยสารนี้มีคุณสมบัติช่วยให้ขวดนมหรือ กระบอกน้ำ มีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย แต่เมื่อนำขวดนมหรือ กระบอกน้ำพลาสติก มาผ่านความร้อนด้วยการต้ม นึ่ง หรือสเตอริไลซ์พลาสติก จะทำให้สารเคมีหลุดและร่อนออกมาปะปนในอาหาร การบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นก็มีโอกาสจะได้รับสาร BPA เข้าไปโดยไม่รู้ตัว ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยและตรวจพบว่าสารชนิดนี้สามารถหลุดลอกออกมาจากขวดนม กระบอกน้ำดื่มได้ หากมีการแตกร้าว เสื่อมคุณภาพ และอยู่ในอุณหภูมิความร้อนสูง ๆ เช่น ระหว่างการต้ม หรือนึ่ง ปัจจุบันวัตถุดิบทางเลือกที่มาทดแทนการใช้ผลิต กระบอกน้ำพลาสติก มีหลายชนิด แต่วัตถุดิบที่ปลอดภัยที่สุดในขณะนี้คือ tritan และ pp


อันตรายของ BPA

  • มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
  • มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
  • เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ
  • ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
  • ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใด ก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
  • ที่สำคัญคือ เด็กทารก เมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโต หรือผู้ใหญ่

การป้องกัน BPA ไม่ให้เข้าสูร่างกายของเรา

  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกให้ปลอดภัยอาจให้สังเกตจากสัญลักษณ์ BPA free
  • อย่าให้ความร้อนแก่อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือ กระบอกน้ำพลาสติก เพราะจะทำให้ขบวนการกรองสารพิษออกมา
  • เวลาล้าง กระบอกน้ำ หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกให้หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างที่แรงและน้ำร้อน เช่น ผงซักฟอก

BPA-Free คือ สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยไม่ใช้สาร BPA นั่นเอง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า กระบอกน้ำ หรือ ผลิตภัณฑ์พลาสติกจะไม่มีสาร BPA ปะปนลงไปในอาหารและเครื่องดื่ม…………..by bottlememarket.com


กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ

การเลือกซื้อกระบอกน้ำ แก้วน้ำ พลาสติก

การเลือกซื้อกระบอกน้ำ แก้วน้ำ พลาสติก

หลังจากทำความรู้จักกับประเภทของพลาสติกแล้ว เราควรเลือก กระบอกน้ำ แก้วน้ำ ที่ทำจากพลาสติกประเภทไหนดี จึงปลอดภัยกับสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณมอบให้ ทาง bottlememarket.com ขอสรุปเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังมองหากระบอกน้ำดีๆ สักใบ สำหรับ กระบอกน้ำ ถ้าหากพูดถึงเจ้าของสิ่งนี้ทุกคนย่อมนึกถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับใส่น้ำเพื่อเอาไว้ติดตัวพกพาไปดื่มในสถานที่ต่างๆได้ แต่ว่าแท้จริงแล้วนอกจากการซื้อมาใช้งาน กระบอกน้ำยังสามารถซื้อมาหรือสั่งทำให้กลายเป็น กระบอกน้ำพรีเมี่ยม ส่งมอบให้เป็นของขวัญกับคนสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆในชีวิตได้เป็นอย่างดี และกระบอกน้ำที่เรามักพบเห็นหรือเคยซื้อกันเป็นประจำก็จะเป็นกระบอกน้ำแบบขวดพลาสติก ดีไซน์ที่ออกมาสวย แต่หารู้ไหมว่าแท้จริงแล้วกระบอกน้ำที่เรานิยมพกพาไปไหนมาไหน มีคุณสมบัติให้เลือกซื้อมากกว่านั้นและมีข้อควรรู้สำหรับคนที่คิดจะซื้อ กระบอกน้ำพลาสติก อีกด้วยว่าซื้อแบบไหนจึงจะเหมาะกับการใช้งาน หรือ ว่านำมาใช้งานได้คุ้มค่าเกินราคา ก่อนอื่นต้องรู้จักวัสดุที่ถูกนำมาผลิตเป็น กระบอกน้ำพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก แต่ละชนิดก่อนว่าผลิตจากพลาสติกประเภทใดและต่างกันอย่างไร ทั้งๆที่ประเด็นหลัก ก็คือ คุณสมบัติการใช้งานและดีไซน์สวยงาม กระบอกน้ำพลาสติก แต่ละแบบ ที่ผลิตออกมาแตกต่างกันนั้นมีการจำกัดความในเรื่องของคุณสมบัติและคุณประโยชน์การใช้งานของผลิตภัณฑ์เอาไว้ต่างกัน ซึ่งใครที่กำลังเลือกซื้อกระบอกน้ำหรือกำลังหาข้อมูลอยู่ ก็จะแยกข้อแตกต่างได้ดังนี้  

โพลิเอทิลีน (Polyethylene Terephthalate) เรียกย่อว่า PET

  • กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท (PET) เป็นพลาสติกใส แข็ง มองทะลุได้ สามารถทนความเป็นกรด และสามารถกันการซึมผ่านของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี เราจึงพบเห็นได้มากจากการนำไปบรรจุน้ำดื่ม น้ำชา น้ำหวาน และ น้ำอัดลม

วิธีใช้ที่ถูกต้อง

  • กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท จะอ่อนตัว เสียรูป ที่อุณหภูมิประมาณ 70 – 75 องศาเซลเซียส
  • กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ทสามารถวางทิ้งไว้ในรถได้
  • สามารถนำน้ำอุ่นมากรอกใหม่ได้ (อุณหภูมิต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส)
  • กระบอกน้ำเพ็ท ขวดเพ็ท ไม่ควรแช่ช่องฟรีซ เพราะจะทำให้ขวดเปราะและแตกได้
  • การล้างขวด หรือ กระบอกน้ำ เพื่อนำมาใช้ซ้ำ ควรใช้ฟองน้ำแบบนิ่มในการขัดถู และล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์

โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกย่อว่า PP

  • โพลีโพรพิลีน พลาสติกประเภทนี้ เป็นพลาสติกที่มีหมายเลข “5” ขึ้นรูปโดยการหลอมเม็ดพลาสติก PP (Food grade) แล้วยิงขึ้นรูป เป็นพลาสติกความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทนความร้อนดี คงรูปดี เหนียว ทนแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมีและน้ำมัน มีน้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้  ในกรณีที่ไม่ได้ผสมสี พลาสติก PP จะมีลักษณะขาวขุ่น ไม่ทึบแสง แต่ก็ไม่ใส นิยมใช้ทำถุงร้อน ขวดน้ำ ขวดนม กระบอกน้ำพลาสติก ถ้วยบะหมี่ หรือ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป กล่องบรรจุอาหาร เป็นต้น เพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ 100-121 องศาเซลเซียส (ไม่ใช่ความร้อนแบบต่อเนื่อง) สามารถเข้าไมโครเวฟได้

ข้อจำกัดการใช้

  • ไม่ทนต่อความเย็นจัด ไม่เหมาะกับอาหารแช่เยือกแข็ง
  • สามารถติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการเติมสารหน่วงไฟเพื่อป้องกันการติดไฟในกระบวนการผลิต ซึ่งสารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
  • สารเม็ดสีที่มีตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งผสมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกมีสีต่าง ๆ ตะกั่วและแคดเมียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพลาสติกได้

โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate) เรียกย่อว่า PC

  • เนื่องจาก โพลีคาร์บอเนต เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความ “ใส” แต่ไม่เปราะ แข็งแรง เป็นพลาสติกที่มีลักษณะ ใส แข็ง ทนทานต่อแรงกระแทก และทนความร้อน จึงนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเก็บในตู้เย็น เช่น กระบอกน้ำ เหยือกน้ำ ขวดน้ำขนาดบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ขวดนม รวมทั้งจำพวกถ้วย ช้อนส้อม มีดชนิดใส

ข้อจำกัดการใช้

  • ไม่ควรนำมา ต้ม, นึ่ง หรือ สเตอริไลซ์ พลาสติก PC**
  • ไม่เหมาะนำมาบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร หรือ เครื่องดื่ม ที่มีอุณหภูมิสูง
  • ไม่ทนต่อด่าง เช่น น้ำเกลือ หรือ ทินเนอร์

Tritan

  • เป็นพลาสติกชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Eastman Chemical ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ระดับโลก ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ใสเหมือนแก้ว แต่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไร้สาร BPA  …….Beyond BOTTLES

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ

เทอร์โมเซตติงพลาสติก

เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosettingplastic)

พลาสติกประเภทนี้มีความแข็งแรง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและปฏิกิริยาเคมีได้ดี โดนความร้อนแล้วไม่อ่อนตัว ไม่สามารถหลอมและนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิสูงจะทำให้แตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ ตัวอย่างของพลาสติก เช่น เมลามีน ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ อีพ็อกซี โพลิเอสเตอร์ ยูรีเทน โพลียูรีเทนการใช้งาน : จาน ชาม แก้วน้ำ ของใช้ในครัวเรือน กระดุม กระดานขาวลบได้ เครื่องเด็กเล่น อุปกรณ์ ตกแต่งสวน ถังขนาดใหญ่ ลำเรือ

ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่

  1. เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ มีสมบัติทางเคมีทนแรงดันได้ 7,000-135,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงอัดได้ 25,000-50,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงกระแทกได้ 0.25-0.35 ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ถึง 140 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก เมลามีนใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิด และนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม ข้อเสียคือ น้ำส้มสายชูจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่าย ทำให้เกิดรอยด่าง แต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก
  2. ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ มีความต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมัน แต่พลาสติกอาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์ พลาสติกชนิดนี้ใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ
  3. อีพ็อกซี ใช้เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือน และท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก ใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์ ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ และท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นกำบังนิวตรอน ซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เคลือบผิวถนน เพื่อกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง ใช้เป็นสารในการทำสีของแก้ว
  4. โพลิเอสเตอร์ กลุ่มของโพลิเมอร์ที่มีหมู่ เอสเทอร์ (-O•CO-) ในหน่วยซ้ำเป็นโพลิเมอร์ที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง เป็นต้น
  5. ยูรีเทน ชื่อเรียกทั่วไปของ เอทิลคาร์บาเมต ยูรีเทนเป็นสารประกอบผลึกที่มีความยืดหยุ่น และอ่อนตัวสูง นิยมนำมาใช้แทนยางธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ขึ้นรูปตามรูปแบบ และขนาดที่ต้องการได้นอกจากนี้ยูรีเทนยังมีคุณสมบัติรับน้ำหนัก และการบีบอัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานได้ดี สามารถรับน้ำหนักหยุดนิ่งได้เป็นเวลานานโดยไม่เสียรูปทรงสามารถผสมสีอื่น ๆ เข้าไปได้ เพิ่มความหลากหลายของเนื้อวัสดุ มีคุณสมบัติทนต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลต และมีอายุของการใช้งานที่ยาวนาน
  6. โพลียูรีเทน โพลียูรีเทน มีลักษณะคล้ายกับยูรีเทน แต่ต่างกันตรงที่ โพลียูรีเทน มีการผสมของสารประกอบที่มากกว่า (โพลี แปลว่า มากหรือสารพัด) จึงถูกเรียกว่า โพลียูรีเทน นิยมนำมาใช้แทนยางธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่โพลียูรีเทนเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวขึ้นรูปใหม่ได้ ไม่สามารถนำกลับมาหลอมซ้ำได้ ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบ ได้แก่ เป็นโฟมยืดหยุ่น โฟมแข็ง สารเคลือบป้องกันสารเคมี กาว สารผนึก และอีลาสโตเมอร์

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ

เทอร์โมพลาสติก

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

พลาสติกประเภทนี้เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างได้ เมื่อเย็นลงจะแข็งตัว ถ้าให้ความร้อนอีกจะอ่อนตัว ดังนั้นจึงสามารถทำให้กลับเป็นรูปเดิม หรือ เปลี่ยนรูปได้ซ้ำไปมาหลายครั้ง โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ทนต่อแรงดึงได้สูง ตัวอย่างของพลาสติกประเภทนี้ เช่น อะคริลิก ไนลอน โพลิเอทิลีน โพลิไวนิลคลอไรด์การใช้งาน : สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ถุงใส่ของ ขวดน้ำ กระบอกน้ำ แก้วน้ำ กระบอกเชคอาหารเสริม แก้วเชคอาหารเสริม จาน ช้อนส้อม ขนแปรงสีฟัน สายยาง เชือก กระเป๋า รองเท้า ไม้บรรทัด กล่องใส่ซีดี ถังขยะ ของเล่นเด็ก กล่อง บรรจุภัณฑ์ วัสดุตกแต่งบ้าน

ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก ได้แก่

  1. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต เรียกโดยย่อว่า เพ็ต ( PET  หรือ  PETE ) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขวดเพ็ต” เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี จึงนิยมใช้ทำ กระบอกน้ำ ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม และขวดน้ำมันพืช โดยทั่วไป สามารถใช้ในอุณหภูมิ -20 ˚C ถึง ไม่เกิน 60 – 70 ˚C  **ไม่สามารถใส่น้ำที่มีอุณหภูมิสูงได้**
  2. โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง เรียกโดยย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE) เป็นพลาสติกความหนาแน่นสูง ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก เหนียวไม่แตกง่าย ขึ้นรูปง่าย มักมีสีสันสวยงาม และทนสารเคมี จึงนิยมใช้ทำขวดแชมพูสระผม กระป๋องแป้งเด็ก ภาชนะบรรจุน้ำยารีดผ้า รวมทั้งขวดบรรจุนม ซึ่งจักช่วยยืดอายุของนมให้ยาวนานขึ้น เพราะป้องกันความชื้นซึมผ่านได้อย่างดีเยี่ยมโดยทั่วไป สามารถใช้ในอุณหภูมิ -20 ˚C ถึง ไม่เกิน 110˚C
  3. โพลิไวนิลคลอไรด์ เรียกโดยย่อว่า พีวีซี (PVC) มี 2 ลักษณะ “หาก แข็ง” จะนิยมใช้ทำท่อ เช่น ท่อน้ำประปา ทำเลียนแบบไม้ เป็นประตู หน้าต่าง และวงกบ “แต่หาก นิ่ม” มักจะใช้ทำฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ และขวดใส่แชมพูสระผม ไม่ควรรับประทานอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกประเภทนี้ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ได้ **จึงไม่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร**
  4. โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ เรียกโดยย่อว่า แอลดีพีอี (LDPE) เป็นพลาสติกความหนาแน่นต่ำ นิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ทนร้อนไม่ดีนัก จึงนิยมใช้ทำแผ่นฟิล์ม ถุงพลาสติก (เช่น ถุงเย็นบรรจุอาหาร) ฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ห่อของ หลอดโฟมล้างหน้า และหลอดครีมนวดผม พลาสติกนี้นำกลับใช้ใหม่เพื่อผลิตเป็นถุงดำใส่ขยะหรือถังขยะ  ไม่ควรรับประทานอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกประเภทนี้ **เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ได้ จึงไม่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร**
  5. โพลิโพรพิลีน เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทนความร้อนดี คงรูปดี เหนียว ทนแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใสพอสมควร จึงนิยมใช้ทำถุงร้อน ขวดน้ำ ขวดนมเด็ก กระบอกน้ำ กระบอกเชค แก้วเชคอาหารเสริม ถ้วยบะหมี่หรือโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป กล่องบรรจุอาหาร และกระบอกน้ำสำหรับใส่น้ำแช่เย็น เป็นต้น สามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ ไม่เกิน 120˚C ไม่ทนต่อความเย็นจัด จึงไม่เหมาะกับอาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)
  6. โพลิสไตรีน เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) มีหลายลักษณะ “หากเป็นพลาสติก ใส” จะเปราะและแตกง่าย แต่ราคาถูก จึงมักใช้ทำช้อน ถ้วยไอติม และตลับเทป “แต่หากเป็น โฟม” มักจะเป็นกล่อง หรือตัวกันกระแทกป้องกันสิ่งของมีค่าไม่ให้แตกหักเสียหายถ้าเป็นภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร มักเป็นประเภทที่ใช้งานชั่วคราวหรือใช้แล้วทิ้ง
  7. พลาสติกนั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ จึงใช้คำว่า Other พลาสติกนี้มิใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ชนิด ยอดนิยมที่กล่าวมาแล้ว พลาสติกในจำพวกนี้ เช่น โพลิคาร์บอเนต (PC), SAN, ABS, TRITAN

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ

ประเภทของพลาสติก

พลาสติก (Plastic)

คือ สารประกอบอินทรีย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้แทนวัสดุธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ พลาสติกนำมาใช้สร้างสิ่งของเครื่องใช้มากมายและมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนกระบวนการผลิตพลาสติก ถือเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้งบประมาณสูง เนื่องจากการผลิตพลาสติกนั้น จะต้องมีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในรูปของปิโตรเลียม ซึ่งถูกทับถมกันอยู่ลึกลงไปบริเวณใต้พิภพขึ้นมาใช้ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการสำรวจและขุดเจาะขึ้นมา แล้วจึงนำเข้าสู่กระบวนการแยกประเภทของปิโตรเลียมซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของก๊าซ ของเหลว หรือของแข็งก็ได้  ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้จึงจะถูกนำไปแปรรูป โดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีทางปิโตรเคมี เพื่อเปลี่ยนรูปของปิโตรเลียมให้เป็นเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ โดยอาจจะมีการปรับปรุง เติมแต่งคุณสมบัติทางเคมีเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในแต่ละประเภท ก่อนจะเข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อที่จะนำเม็ดพลาสติกที่ได้มาหลอมโดยใช้ความร้อนสูงกลายเป็นของเหลวและขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ ที่ใช้กันอยู่มากมายในปัจจุบัน พลาสติกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastics) และ เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastics)

ประเภทของพลาสติก

เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับประเภทของพลาสติก หากว่าคุณเคยสงสัยว่าพลาสติกมีกี่ประเภทกันแน่ และแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และใช้ทำอะไรบ้างในอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับพลาสติกประเภทต่างๆ กัน พลาสติกแบ่งออกเป็น  2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซตติงพลาสติก
  1. เทอร์โมพลาสติก  (Thermoplastic) หรือ เรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก  จึงเหมะสำหรับนำมาผลิตเป็น  “กระบอกน้ำพลาสติก
  2. เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosettingplastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือ ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ เหตุนี้หลังจาก พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย

กลับสู่หน้าแรกบริการ รับผลิตกระบอกน้ำ